Biography of His Majesty King Bhumibol Adulyadej(พระราชประวัติ)
HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ of Thailand was born in Cambridge Massachusetts, The United States of America, on Monday the 5th of December 1927, being the third and youngest child of Their Royal Highnesses Prince and Princess Mahidol of Songkhla.
Even the facts of his birth seem to be significant in several ways. He is, first of all, the direct grandson of His Late Majesty King Chulalongkorn or Rama V who was renowned for the great reforms which he made to all institutions of Thailand to bring them up to date and in line with the rest of the Western-orientated world.
Prince Mahidol himself was perhaps one of the most modern-minded of all the sons of King Chulalongkorn and his life was dedicated to the development of many modern ideas particularly in the field of Medical Science so that he is now known as the Father of the Modern Thai Medical Profession.
Last but not least, he was given the significant name of Bhumibol Adulyadej, meaning Strength of the Land Incomparable Power which becomes prophetic as his Reign advances through various critical periods and the Thai nation evolves more and more around the Throne as the sole sources of unity and strength.
Prince Mahidol came back to Thailand and passed away when His Majesty was not yet two years old. After a brief period of primary schooling in Bangkok, His Majesty left with the rest of his family for Switzerland where he continued his secondary education at the Ecole Nouvelle de la Suisse Romande, Chailly sur Lausanne and received the Bachelieres Lettres diploma from the Gymnase Classique Cantonal of Lausanne.
He then chose to enter Lausanne University to study Science, but the death of his elder brother King Ananda Mahidol in Bangkok on the 9th. of June 1946, changed the course of his life completely, for the Law of Succession bestowed on him the arduous but challenging function of the Thai Crown. His Majesty decided to go back to Switzerland for another period of study, but this time in the subiect of Political Science and Law in order to equip himself with the proper knowledge for government. In 1950, His Majesty returned to Thailand for the Coronation Ceremony which took place on the 5th. of May.
He went back to Switzerland for another period of study before the urgent call of his country and people brought him back to Thailand in 1951 to stay.
His Majesty met and became engaged on the 19th. of July 1949 to Mom Rajawongse Sirikit, daughter of His Highness Prince Chandaburi Suranath (Mom Chao Nakkhatra Mangala Kitiyakara) and Mom Luang Bua Kitiyakara (nee Mom Luang Bua Snidwongse). His Highness Prince Chandaburi Suranath was the third son of His Royal Highness Prince Chandaburi Narunath and Her Serene Highness Princess Absarasman Kitiyakara.
Their Majesties were married by Her Majesty Queen Sawang Vadhana, the paternal grandmother of His Majesty, at Sra Pathum Palace in Bangkok on the 28th. of April 1950 and Their Majesties have four children namely:
1. The Former Her Royal Highness Princess Ubol Ratana who was born on the 5th. of April 1951, in Lausanne, Switzerland and graduated form the Faculty of Science at Massachusetts Institute of Technology in The United States of America with a Bachelor of Science Degree in Bio-Chemistry in 1973. She is married to Mr. Peter Ladd Jensen and now resides in The United States of America with her husband and their three children.
2. His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn was born on the 28th. of July 1952, in Bangkok, Thailand, and was conferred with the title of Somdech Phra Boroma Orasadhiraj Chao Fah Maha Vajiralongkorn Sayam Makutrajakuman by His Majesty the King on the 28th. of December 1972, making him the Crown Prince or Heir to the Throne. His Royal Highness graduated from the Royal Military College Duntroon, Australia, on the 9th. of December 1975, and now serves in the Royal Thai Army, with the rank of Major General and commands the King's Own Body-Guards Regiment, the Frist Division, Royal Guards. His Royal Highness is married to Her Royal Highness Princess Soamsawali (nee Mom Luang Soamsawali Kitiyakara) and has one daughter.
3. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn was born on the 2nd. of April 1955 in Bangkok, Thailand, and was conferred the title of Somdech Phra Debaratana Rajasuda Chao Fah Maha Chakri Sirindhorn Rathasimakunakornpiyajat Sayam Boroma Rajakumari by His Majesty the King on the 5th of December 1977.
Her Royal Highness graduated from the Faculty of Arts at Chulalongkorn University with a Bachelor of Arts Degree in History , First Class Honours, in 1976. In 1979, Her Royal Highness received a Master of Arts Degree in Oriental Epigraphy from the Graduate School of Silapakorn University and in the following year received a Master of Arts Degree in Oriental Languages from the Graduate School at Chulalongkorn University. Her Royal Highness received her Doctor of Philosophy Degree in Educational Development from Srinakharinwirot University in 1986 and is currently studying for a doctorate degree in educational administration at Chulalongkorn University.
4. Her Royal Highness Princess Chulabhorn was born on the 4 th. of July 1957 in Bangkok, Thailand, and graduated from the Faculty of Science and Arts at Kasetsart University with a Bachelor of Science Degree in Organic Chemistry, First Class Honours, in 1979. Her Royal Highness completed her doctorate work in organic chemistry in 1985, and received her Doctor of Philosophy Degree from Mahidol University in July of the same year.
พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาล เมานท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสสาชูเซตต์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์
ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึง ๒ ปี และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ ปี ได้ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จึงถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมือง โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเมียร์มองต์ (Mieremont) ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรงมองต์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) ตำบลแชลลี (Chailly) เมืองโลซานน์ เมื่อทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากยิมนาส กลาซีค กังโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์แล้ว ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทยเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร (ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาพระอิสริยยศ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลฯ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ และขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕) ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุมซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ-พระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาพระสุขภาพ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และระหว่างที่ประทับในเมืองโลซานน์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ปรับปรุงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานสำหรับเป็นที่ประทับแทนการที่รัฐบาลจะจัดสร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ในพุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากร ปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่ทรงพระผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ หลังจากทรงประกอบพิธีเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งได้ต่อเติมขึ้นใหม่แล้ว ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต กลับไปประทับที่ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน
เศรษฐกิจพอเพียง...หนทางสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน
พระราชดำรัส
--------------------------------------------------------------------------------
"...มาเร็ว ๆ นี้ .โครงการต่าง ๆ โรงงานเกิดขึ้นมามาก จนกระทั่งคนนึกว่าประเทศไทยนี้ จะเป็นเสือตัวเล็ก ๆ แล้วก็เป็นเสือตัวโตขึ้น. เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ.
ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ. สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน. แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง. อันนี้ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง. อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรืออำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร. บางสิ่งบางอย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย. จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา. แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๔ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เศรษฐกิจพอเพียง
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
"เศรษฐกิจพอเพียง" แนวพระราชดำริซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข บนหลักความ "มีเหตุผล", "พอประมาณ" และ "มีภูมิคุ้มกัน" ซึ่งมีเป้าหมายให้สังคมไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการพัฒนาพลังงานของไทย
หลักของการมีเหตุผล
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ของโลกนับวันมีแต่จะหมดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งมีแหล่งน้ำมันดิบของตนเองไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ต้องเสียเงินนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีนับแสนล้านบาท
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงาน เป็นตัวอย่างของการคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ อย่างมีเหตุผล ดังจะเห็นได้จากเมื่อทรงมีพระราชดำริในเรื่องใด พระองค์ท่านจะทรงมีรับสั่งให้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลดีผลเสีย ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนการดำเนินการทุกครั้ง
ยิ่งไปกว่านั้น แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังเป็นการมองอย่างองค์รวม ไม่ได้ทรงแยกคิดแยกแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องของการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า การสร้างเขื่อนหรือฝายแต่ละแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชดำริให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำไปพร้อม ๆ กัน อันเป็นการจัดการ "น้ำ" เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสูด
นอกจากนั้นโครงการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก ซึ่งมุ่งผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนบริเวณดังกล่าวเป็นหลัก ลดการนำเข้าพลังงานจากภายนอกท้องถิ่น ซึ่งเป็นตัวอย่างการค้นหาและนำพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และหากชุมชนสามารถพึ่งพาพลังงานที่ผลิตขึ้นได้เองภายในชุมชนหรือนำเข้าพลังงานจากภายนอกท้องถิ่นให้น้อยที่สุด ก็ย่อมช่วยให้การพัฒนาพลังงานในระดับประเทศมั่นคงและยั่งยืนตามไปด้วย
หลักการแห่งความมีเหตุผลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทำให้ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลไปถึงอนาคตอย่างเช่นเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เมื่อทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาวิจัยนั้น น้ำมันราคาถูก แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลว่าในอนาคตข้างหน้า น้ำมันมีแต่จะหมดไป ขณะที่คนต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น ราคาน้ำมันจึงจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน หากจะรอให้น้ำมันแพงเสียก่อน ค่อยมาคิดศึกษาวิจัยก็คงไม่ทันต่อความต้องการ จึงมีพระราชดำริให้เริ่มศึกษาตั้งแต่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นที่ประจักษ์ถึงคุณประโยชน์อเนกอนันต์ของแนวพระราชดำริดังกล่าว
การพัฒนาพลังงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไบโอดีเซล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ก็ล้วนเกิดขึ้นบนหลักของความมีเหตุผลนี้เช่นเดียวกัน
หลักแห่งความพอประมาณ
การดำเนินการของโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นตามแนวพระราชดำรินั้นล้วนแต่ยึดหลักความพอประมาณทั้งสิ้น ซึ่งก็คือความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
พระราชดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพลังงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ ไม่ได้เน้นที่ขนาดความใหญ่โตของโครงการ แต่พิจารณาความเหมาะสมและพอเพียงต่อการใช้งานเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธโครงการขนาดใหญ่ หากเป็นไปตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของคนเป็นจำนวนมาก
หลักแห่งความพอประมาณ ช่วยให้การพัฒนาพลังงานในประเทศไทยค่อยเติบโตอย่างมั่นคง นำไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
แนวพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับกิจการพัฒนาพลังงานที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศ เรื่องที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือ แนวพระราชดำริให้ศึกษาวิจัยเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนผู้คนในวงการพลังงานต่างยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า หากไม่ใช่เพราะพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว การนำน้ำมันแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลมาใช้ในประเทศไทยคงไม่ก้าวหน้ารวดเร็วเช่นในทุกวันนี้ และอาจต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์น้ำมันมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน
ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาวิจัยและพัฒนาพลังงานตามแนวพระราชดำรินั้น มุ่งเน้นการคิดค้นพัฒนาทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รวมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเป็นหลัก
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาพลังงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนและการพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง เพราะเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศด้วยเทคโนโลยีอันเกิดจากการศึกษาวิจัยของไทยเอง จึงเหมาะสมกับการใช้งานอย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน การใช้ทรัพยากรภายในประเทศไม่เพียงช่วยให้มีพลังงานใช้ภายในประเทศอย่างพอเพียงเท่านั้นยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เท่ากับช่วยเพิ่มปริมาณเงินทุนหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศมากขึ้นด้วยเช่นกัน
การยึดหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" ในการพัฒนาพลังงาน จึงเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
--------------------------------------------------------------------------------
โครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสนับสนุนแนวพระราชดำริเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงเกิดโครงการเพื่อสนองแนวพระราชดำริมากมายหลายโครงการ อันได้แก่
--------------------------------------------------------------------------------
โครงการชีววิถี
--------------------------------------------------------------------------------
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งช่วยพสกนิกรไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นโครงการเพื่อสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในการทำการเกษตรบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองด้วยการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์น้ำ ปศุสัตว์รวมไปถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดบรรยายและสาธิตเกี่ยวกับการทำเกษตร จัดทำเอกสาร หนังสือ เพื่อเผยแพร่ความรู้ชีววิถีแก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป
ความเป็นมาของโครงการในพระราชดำริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นได้รับการริเริ่มขึ้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ไม่นาน โดยงานสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชดำรัสด้านการแพทย์ที่พระราชทานความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าในระยะแรกนั้นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะการดำเนินการศึกษาค้นคว้าและทดลองเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเตรียมพระองค์ด้านข้อมูลและความรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและเผยแพร่วิทยาการสู่เกษตรกร โดยเริ่มโครงการจากในเขตพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาคก่อน จากนั้นจึงขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่เกษตรกรรมที่กว้างขึ้น
ภายใต้หลักการทำงานที่สำคัญคือ โครงการฯ ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ได้อย่างรีบด่วนและมีผลในระยะยาย โดยที่การพัฒนานั้นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามความจำเป็นและประหยัด ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ประชาชนที่สามารถ "พึ่งพาตนเองได้" ในที่สุด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานตั้งแต่การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และการประกอบอาชีพ ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลจริงจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น แล้วจึงทรงวางแผนพัฒนาและพระราชทานข้อเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริในโครงการต่างๆ โดยพระองค์เสด็จฯ ร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐทุกฝ่าย ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างจริงจัง ซึ่งแต่ละโครงการมีกำหนดเวลาในการปฏิบัติการให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นโครงการระยะยาวจะมีเวลาดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
นอกเหนือจากการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว งานของโครงการฯ ยังมีลักษณะของงานวิชาการอีกด้วย กล่าวคือ จะมีโครงการวิจัย ค้นคว้าและทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาค ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่วิทยาการที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกรในการจัดทำโครงการต่างๆ ตามหลักวิชาการก่อน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และประโยชน์ที่คุ้มค่า จากนั้นจึงจะเสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณในการจัดทำ หากโครงการใดติดขัดด้านระเบียบ วิธีการ งบประมาณ เป็นผลให้เกิดความล่าช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานกองทุนส่วนพระองค์ เพื่อให้โครงการดำเนินการต่อไปได้และทันกับการแก้ไขปัญหาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นหน่วยงานช่วยประสานงานและแผนงานต่างๆ ให้สอดคล้องกันโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงกำกับดูแล ตลอดจนทรงติดตามผลการดำเนินการและเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังโครงการฯ ทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อทอดพระเนตรความเจริญก้าวหน้าของโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ในโอกาสอันเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ตลอดจนหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดทำโครงการนำพลังงานทดแทนที่สะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานอื่น ไปใช่เสริมในกิจกรรมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยได้ดำเนินการโครงการ ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการ ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดนครพนม ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง และ สวนพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งหมด 14 แห่งด้วยกัน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่ละศูนย์ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ศูนย์ฯ เป็นแหล่งทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาฯ จึงเปรียบเสมือนเป็น "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" และ "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ ได้นำไปให้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้
และเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และทราบถึงความพร้อมของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่จะได้รับความร่วมมือทั้งทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์และงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ การดำเนินการศึกษาและวางแผนจึงอยู่ในรูปของคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ร่วมกันทำหน้าที่สำรวจข้อมูลและศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานสะอาดไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ
คณะกรรมการศึกษาและวางแผนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ทำการศึกษาแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาการพัฒนา และสำรวจพื้นที่จริงของแต่ละศูนย์ฯ ก่อน เพื่อศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของระบบพลังงานทดแทนแต่ละประเภทที่จะนำไปใช้ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนงานหลักของโครงการใช้พลังงานสะอาดและอนุรักษ์ธรรมชาติตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานและองค์กรที่เหมาะสมพร้อมจะรับงานต่างๆ ไปดำเนินการ และจากการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้นดังกล่าว คณะกรรมการศึกษาและวางแผนฯ ได้สรุปและจัดทำแผนงานโดยมีกิจกรรมที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนดำเนินงานร่วมกันในแต่ละศูนย์การศึกษาฯ และสถานที่อื่นๆ เสนอต่อคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ รับไปดำเนินการต่อไป
เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการศึกษาและความก้าวหน้าในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของแต่ละศูนย์ฯ ควบคู่ไปกับการเผยแพร่เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานก๊าซชีวภาพ ซึ่งโครงการนี้จะมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ได้ศึกษาดูงานและเห็นการใช้งานของต้นแบบที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปขยายผลและใช้งานในวงกว้างขึ้น ตามความเหมาะสมของสภาพสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่
การเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ยังเป็นการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงผลดีทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาใช้แทนพลังงานจากฟอสซิล ขณะเดียวกันก็ทำให้ทราบถึงผลเสียหากมีการใช้พลังงานจากฟอสซิลอย่างไม่มีประสิทธิภาพไปด้วย นอกจากนี้ประชาชนยังได้รับทราบถึงผลประโยชน์และวิธีการใช้พลังงานรูปแบบอื่นรวมทั้งเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ พร้อมกันนั้นยังเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค ให้มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและใช้พลังงานรวมทั้งบทบาทและการมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการผลิตและใช้พลังงาน กระตุ้นความสนใจให้เกิดการใช้พลังงานและทรัพยากรอื่นที่ได้มาด้วยพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
เพื่อสาธิตและประชาสัมพันธ์การใช้พลังงานทดแทนและพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานก๊าซชีวภาพ โดยนำระบบพลังงานทดแทนต่างๆ ไปติดตั้ง ณ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสถานที่ต่างๆ
เพื่ออนุรักษ์พลังงานไทยตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้กำหนดให้ปี 2541-2542 เป็นปี "อนุรักษ์พลังงานไทย"
เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศและรักษาสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการฯ
องค์กรผู้รับผิดชอบการจัดโครงการฯ ได้แก่ คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (สพช.) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนต่างๆ รวมกว่า 30 หน่วยงาน
งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
งบประมาณของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 125,603,070 บาท และงบจากส่วนราชการอื่นๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอีก 16,370,601 บาท รวมทั้งสิ้น 141,973,671 บาท
การดำเนินงานนำความสำเร็จมาสู่โครงการฯ
โครงการฯ นี้เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุและอุปกรณ์ จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบต่างๆ ไปติดตั้ง ณ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสถานที่ราชการต่างๆ รวม 14 แห่ง ในลักษณะของการสาธิตการใช้งานจริง เพื่อให้ประชาชนที่เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ ต่างๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการใช้งาน การบำรุงรักษา การติดตั้ง อีกทั้งประโยชน์ที่จะได้รับและแนวทางในการนำไปใช้งานในท้องที่ของตนเอง
สำหรับระบบพลังงานทดแทนที่นำระบบผลิตมาใช้และติดตั้ง ได้แก่ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กังหันลมสำหรับสูบน้ำ เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำการติดตั้งดังนั้นใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำสำหรับปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเพาะปลูกและปรับสภาพดินเปรี้ยวให้ดีขึ้น และยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่างในครัวเรือน ใช้สำหรับประจุแบตเตอรี่ ใช้ในการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ความถี่ 470 MHz และโทรศัพท์ทางไกลผ่านดาวเทียม ตลอดจนใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับต่อเข้าระบบสายส่ง ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป่าลมลงบ่อเลี้ยงปลา นอกจากนี้ยังได้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ชุดกรองน้ำดื่มแบบรีเวิร์สออสโมซิสด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในโครงการฯ อีกด้วย
สำหรับกังหันลมใช้สูบน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใช้เพาะปลูก และปลูกป่า ขณะที่เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นำมาใช้ในการผลิตน้ำร้อนสำหรับอุปโภคบริโภค และใช้เป็นเครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบก๊าซชีวภาพที่นำมาติดตั้ง เป็นการผลิตก๊าซจากมูลช้างและมูลโค เพื่อใช้ในการหุงต้ม ผลิตกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ
อุปการณ์ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ ซึ่งติดตั้งร่วมอยู่ในโครงการฯ ด้วย ได้แก่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ประหยัดพลังงาน เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงานอุปกรณ์ช่วยแปลงสุขภัณฑ์ชักโครกให้ประหยัดน้ำ เตานึ่งก้อนเชื้อเห็ดประสิทธิภาพสูง อุปกรณ์ตรวจวัดกังหันลมและประเมินศักยภาพพลังงานลม สวนพลังงานแสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยนเรศวร การเดินระบบสายส่งในพื้นที่ชนบทห่างไกล และเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยขั้นตอนการดำเนินการเริ่มตั้งแต่คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร รวบรวมหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมเข้าปรึกษาหารือกับเลขาธิการ กปร. เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ก่อนจะวางแผนและออกเดินทางสำรวจสถานที่ติดตั้งระบบต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสรุปสถานที่และประเภทระบบต่างๆ ที่จะติดตั้ง พร้อมรายการบริจาคต่างๆ แล้วจึงจัดทำเป็นโครงการ เพื่อของบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงทราบการดำเนินโครงการฯ จากนั้นจึงดำเนินการติดตั้งระบบต่างๆ และส่งมอบระบบฯ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมสัมมนาให้ความรู้ในการติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซม ตลอดจนประสานงานให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ดูแลในพื้นที่และประชาชนที่สนใจ
เมื่อมีการติดตั้งแต่ละโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการฯ และกราบบังคมทูลข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจึงทำการประชาสัมพันธ์โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง และจัดทำเอกสารเผยแพร่โครงการ อาทิ หนังสือสรุปโครงการฯ "พลังของแผ่นดิน" ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ แผ่นพับฉบับภาษาฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ โปสเตอร์ CD-ROM Web Site บอร์ดต่างๆ และวีดีทัศน์ ก่อนจะมีการติดตามและประเมินผลการติดตั้งโครงการต่อไป ซึ่งเป็นขั้นตอนดำเนินงานระยะสุดท้าย
ทรงห่วงใย
The statement shows His Majesty’ s interest in irrigation works since he was young. After ascending to the Throne in 1952, His Majesty has visited many irrigation projects throughout the country especially in the remote and isolated areas, beyond the government’s development plan. Being the head of state, His Majesty has shown his tireless efforts in helping the government to develop water resources for the use of the poor who faces water shortage problem, so that the water would be available for their basic needs, sufficient for cultivation and hopefully better their living to well-being conditions.
In doing so, His Majesty the King has initiatives to implement various types of project aimed at helping people in rural areas by emphasizing on their participation to the projects for further sustainable self-help and team work. The Project are called “Irrigation Projects Initiated by His Majesty the King”
Royal Initiatives
The Solution to Water Shortage Problem
The Solution to Flood Problem
The Solution to Waste Water
Works of Irrigation Projects Initiated by His Majesty the King
Royal Intiatives
During each visit to his people in rural areas, His Majesty always gives his initiative for water resource development for the benefits of the people in the area. His initiative are derived partly from his own consideration and partly from the request of the people themselves.
Such initiatives would then be implemented starting from preliminary studies and planning undertaken by his majesty himself. The project would then be convoyed to government agencies concerned for feasibility studies and project planning for further construction.
Project planning maps handed by H.M. the King
Information inquired from local people
Project Planning maps Handed by H.M. the King
Prior to each visit to his people in rural areas, His Majesty would always study the topographical conditions, natural water resource, as well as socio-economic conditions of the area and other villages nearby and make a plan of a water resource development project using 1:50,000 scale map and aerial photographs. So often in that His Majesty handed over the map with his own draft to RID officials to study and prepare technical reports for this further consideration.
Information Inquired from Administrative Heads of Sub-district and Village and their villagers
During his visit, His Majesty always carries a map while making inquires from administrative heads of sub-district and village and people seeking his audience as well as from elderly villagers who had witnessed changes in the environmental conditions. The questions are about how the people earn their living, whether the rainfall or natural water resources is adequate for cultivation and so forth. His Majesty would thoroughly study the data and information obtained from the people and should he determine that there be some possibility and suitability for the project, which could be implemented within one year with low capital investment but with large benefits, or for the improvement of the existing earthll dam and weir, he would suggest the RID, in the presence of the presence of the people, to urgently carry out the construction.
Solution to water shortage problem
Her Majesty the Queen gave a speech on the occasion of Her Majesty’s Birthday on 11 August 1991 at Dusidalai Hall of Chitralada Villa, a section of which is as follows:
His Majesty realizes the importance of water. He always travels with irrigation experts to solve water shortage problem for villagers. With such problem, the farmers cannot get good yield from farming and become poorer. Some had to tell their land and so lost their last property. I am delighted that the Government also realizes this fact, and have tried every method to help farmers to solve the water problem.
Water development works initiated by His Majesty which are convoyed to concerned agencies for implementation can be categorized as follows:
Reservoir
Weir
Swamp Dredging
Pond
Reservoir
Reservoir is a water source arisen from the construction of a dam across a valley or highland for impounding a large amount of water, thus becomes water sources of various scales. The impounded water can be distributed through pipes for the cultivation of rice, field crops and vegetables as well as for cattle raising and domestic consumption. Moreover, the reservoir itself not only serves as a fish and shrimp cultural ground but also help preventing and mitigating flood hazard for the area downstream.
North
More Ngat Sombunchon reservoir, Mae Taeng District, Chiang Mai Province
Mae Tam Reservoir, Muang Phayao District, Phayao Province
Northeast
Huai Diak Reservoir, Muang Sakon Nakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province
Huai Sampat reservoir, Nongwua So, Udon Thani Province
Central
Khlong Sai Thong Reservoir, Muang Nakhon Nayok District, Nakhon Nayok Province
Huai Sab Takhian Reservoir, Chaibadan District, Lop Buri Province
South
Klai Ban Reservoir, Muang Narathowat district, Narathiwat Province
Khlong Lao Reservoir, Hat Yai District, Song Khla Province
Weir
If the topographical condition were not suitable for reservoir construction, weir construction across waterways would be considered. Although it benefits cultivation only during an excessive flow period, water retained upstream will be sufficient for alleviating the people’ trouble in domestic consumption during the dry season.
The weir construction works are mostly in the South, i.e. Lkapo Weir, Narathiwat Province: Ban Lae Weir, Yala Province : Khlong Mai Siap Weir, Nakon Si Thammarat Province while some are in the North, i.e. Pa Tong and Luang To Phare Weir, Mae Hong Son Province, and in the Nirtheast, i.e. Lam Nam Choen Diversion Dam, Chum Phae district, Khon Kaen Province, etc.
Swamp Dreadging
Swamp Dredging Work
At present, natural water resources such as creeks, swamps and canals which were used to be available for cultivation and domestic consumption become shallow and are encroached upon in such a manner the water become insufficient for community consumption throughout a year. In these regards, His Majesty suggested that the area with swamps could make the use of its swamps to retain excessive water of the wet season for consumption in the dry season.
When swamps became shallow and could not be used as in the past, and some parts of the area were encroached upon, difficulties arising from community’s water shortage would occur. His Majesty consequently assigned concerned agencies to rehabilitate and dredge natural swamps in many areas such as in Sawang Dean Din and Nakae District and Sri Songkhram District of Nakhon Phanom Province as well as in some province of the central region.
Farm Pond
Pond is a water resource made for storing rainwater, runoff, or water seeping through soil by excavating an area to the length, width and depth required for expected storage volume. Mostly with small capacity, ponds are constructed in the areas where natural watercourses are unavailable or with topographical conditions unsuitable for the construction of reservoirs or other retaining structures. This type of water resource development at farm level has highly attracted His Majesty’s interest since due to the constraints in topographical, socio-economic and environmental condition of most drought-effected areas has discouraged them from other type of water resource development except this farm pond.
Therefore farm ponds are royally initiated and promoted to the farmer throughout the country with farm ponds, excessive water in the wet season would be reserved for consumption and integrated farming in the dry season. His Majesty recommends that this farm pong work is the “New Theory” in the solution to water shortage for agriculture. This “New Theory” was firstly undertaken in a 2.58 ha area of the Chai Phattana foundation, near Mongkhom Chai Phattana Temple, Muang Saraburi District of Saraburu Province and later extended to the farm lands of more than 100 farmers in Khao Wond District of Kalasin Province. At Present, Due to satisfactory outcome of the theory, each farmer has enough water for integrated farming, resulting in good income for this family.
Solution to Flood Problem
Flood is a natural phenomenon resulting from a high intensity and continuity of rainfall over an area until the runoff into streams or rivers is markedly higher than usual. If any section of such streams or rivers cannot bear that excessive flow. the water will burst their both banks or inundate a broad area beyond.
In case of big flood over community or cultivated areas which may cause damages to people properties and crops as well as buildings, it would be called “flood disaster” such as “flood disaster in the central region that often occurred in the past.
Therefore, Flood Protection and Alleviation Project royally initiated by His Majesty the king was established with the objectives to solve, prevent and alleviate the high rising of water in canals or rivers from overflowing an area and causing damages to cultivation or communities. To achieve such objectives, appropriate methods are considered according to each region’s conditions and with no impacts to environment and nature and with less but worth investment. The significant methods of flood protection and alleviation are as follows:
Dam Construction Works.
Dike Construction Works
Weir Construction Works
Drainage Works
Dam Construction Works
His Majesty the King has introduced his initiatives to the concerned agencies to solve flood problem in the cultivated and community area by constructing storage dams in various regions. One of the large scale storage dams initiated by His Majesty that has been proved to efficiently solve and alleviate flood problem is the mad Ngat Somboonchon Dam which was constructed across Mae Ngat stream at Mae Taeng District, Chiang Mai Province with the storage capacity of approximately 265 mcm. Though this dam benefits mainly in irrigation, it can also alleviate flood which always occurred in cultivated area on both bank of the Mae nGat stream and Mae Ping River down to Chiang Mai town.
Pasak Jolasid storage Dam initiated by His Majesty the King was constructed across the Pasak River at Nong Bua Sub-district, Phatthana Nikhom District, Lop Buri Province with the storage capacity of approximately 785 mcm. Complete and starting to retain in 1997, the dam becomes a water resource for irrigation purpose as well as flood control alleviation in the area of Saraburi, Ayutthaya and Bangkok Provinces.
Embankment Wall Construction Works
Flood protection by constructing an embankment wall is the method preventing water not to flow over the banks to floods the area and cause directly damage. It is like reinforcing the edge of the bank higher in order to increase cross-section of stream to be big enough for draining plenty of water from such area with no damages from flood.
RID constructed embankment walls according to His Majesty in various regions: South- Embankment walls of Muno Project initiated by His Majesty the king, Narathiwat Province and of Pi Leng Project initiated by His Majesty the King, etc., as well as many embankment walls at different area in bangkok which is order the bangkok and vicinity Flood Protection Project initiated by His Majesty the King. At present these embankment walls can protect water from the Chao Phraya River and canel around Bangkok at the north and the East not to flood Bnagkok town and economic zone area as well.
Construction of Diversion Channels
Channels construction or new canal excavation connecting with the stream which faces flood problem is to diverse all or some part of water to be overflow the bnak, out ot that stream and then push and then push it flow to the new channel to other streams or drain into the sea, asapporpriate.
His Majesty the King gave an initiative about flood solution by channel construction to RID in 1974 (B.E.2517) to consider and solve water problem from the Kolok River, Which borders Thai-Malaysia. In the wet season, high water level often overflows into villagers’ farmland in Sungai Kolok District, Narathiwat Province and damages many thousand rais of them every year. To solve this problem, channel excavation and water distribution from the Kolok River to the sea during the peak period. RID excavated Muno canal in response to His Majesty the King in 1975 (B.E.2518) with the width of bed canal of 20 m, length of 15.60 km. Separating from the Kolok River at Muno Sub-district, Sungui Kolok District. It distributes water from the Kolok River while the water level is high enough to flood cultivated area and drains it into the sea. This make water level in the Kolok River lower and this canal also receive water from the Kolok River to store for cultivation.
Driainage Works
His Majesty the King is much concerned about flood problem e.g. floods in the area of Bangkok and vicinity occurs almost every year. Therefore, he intends to solve and alleviate flood problem in Bangkok and vicinity. The concerned agencies such as the Royal Irrigation Department, Supreme Command Headquarters, the office of Accelerated Rural Development of Highways and the State Railway of Thailand cooperates in studying the methodology of solution in detail and then constructed flood protection and drainage system, in response to His Majesty’s initiative. From the implementation, it can alleviate flood problem and drain water from the area of Bangkok and vicinity as needed by improving, dredging and eradication weeds in the drainage canal within the drainage area, in order that plenty of water from the area can be drained to the main river or the sea easily. In addition, there is also a tail regular with pumping station for speeding up water drainage from the areas to be minimized in volume.
The important drainage project initiated by His Majesty the King is:
Keam Ling Project initiated by His Majesty the King
Keam Ling Project initiated by His Majesty the King
In the part of Royal Irrigation Department’s Responsibilities
--------------------------------------------------------------------------------
Map of Keam Ling Project showing Embankment Walls and Regulator1
Detailed Map of Keam Ling 2
Keam Ling Project initiated by His Majesty the King is a drainage work from upper area through the canal southwards to a large storage canal near seashore. When the sea level is lower than water level in the canal, the water in such canal is drained through a regulator by gravity and pumped out in order to let the water in the canal be at minimized level. This will help water from upper canal flow into the storage canal at all time. On the contrary, if the sea level is higher than water level in the canal, the regulator is closed in order not to let water flow return…
ล้นเกล้าชาวไทย
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
พระปฐมบรมราชโองการในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเนื่องในโอกาสวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคนอยู่เสมอ ถึงแม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานเพียงใดก็ตาม พระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อประชาชนนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะ บรรยายได้
นับตั้งแต่ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ชาวไทยทุกคนต่างซาบซึ้งอย่างถ่องแท้ถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ เปี่ยมด้วยความรักความ ผูกพันในพสกนิกรและแผ่นดินไทย ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวไทยทั่วทั้งประเทศดุจดังทุกข์ ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระองค์ พระจริยวัตรที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำก็คือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคอย่างใกล้ชิดด้วยมี พระราชประสงค์มุ่งแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น โดยใช้หลักการพัฒนาแบบเรียบง่ายประหยัด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ
การบริหารจัดการลุ่มน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวและการป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่ภาคใต้ คือหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ซึ่งล้วนก่อเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงทุ่งเทพระวรกาย ด้วยทรงต้องการเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะเขตภาคใต้ที่ขาดแคลนพื้นที่เกษตรกรรม
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ด้านป่าไม้)
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยัง ทรงพระเยาว์ว่า".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะเรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ....." การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองคุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไป อย่างโดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่างประสานสัมพันธ์ กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้
ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด 3 ชนิดที่แตกต่างกัน คือไม้ผลไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจเพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ และวิถีประชาในชุมชนประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึด เป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง" นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้
ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ
(Natural Reforestation)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ
กลยุทธ์การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ (Natural Reforestation) อาศัยระบบวงจรป่าไม้ และการทดแทนตามธรรมชาติ (Natural Reforestation) คือ การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้และควบคุมไม่ให้มีคนเข้าไปตัดไม้ไม่มีการรบกวนเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลา
การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
“...ทิ้งป่าไม้นั้นไว้ 4 ปี ตรงนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียว... คือว่าการปลูกนั้น สำหรับอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง...”
พระราชดำรัส วันที่ 4 ธันวาคม 2537
1.ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ด้วยวิธีการ 3 วิธี คือ
ก. " ถ้าเลือกได้ที่ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลยป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว"
ข. " ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น…”
ค. " ในสภาพป่าเต็งรังป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ ก็จะแตกกิ่งออกมาอีกถึงแม้ต้นไม้สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้"
2.ปลูกป่าในที่สูง ทรงแนะนำวิธีการ ดังนี้
" ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตแล้วออกฝัก ออกเมล็ด ก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไปเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ" "การปลูกป่าทดแทนจะต้องรีบปลูกต้นไม้ คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อ ให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไป..."
3.ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาติ
ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่า
ก. ปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม คือ " ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้างแล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ "
ข. งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ "ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน "
4.การปลูกทดแทน
ในขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศแล้วคนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง 48 ล้านไร่โดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านต้นใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้นการปลูกป่าทดแทนจึงเป็นแนวทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันในเชิงปฏิบัติดังพระราชดำริ ความตอนหนึ่งว่า “การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขาในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำ และพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง”
◦การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา
“...การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆ ชนิด เพื่อให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์ คือ มีทั้งไม้ผล ไม้สำหรับก่อสร้าง และไม้สำหรับทำฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้ ซึ่งเมื่อตัดไปใช้แล้วก็ปลูกทดแทนเพื่อหมุนเวียนทันที..."
พระราชดำรัส วันที่ 26 มกราคม 2550 ณ โครงการจัดการลุ่มน้ำแม่สา อำเภอแม่ริน จังหวัดเชียงใหม่
◦การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
“ปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปทั้งสองข้างร่องน้ำอันจะทำให้ต้นไม้งอกงามขึ้น และจำมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า ซึ่งจะเกิด…..
5.การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง : การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสมผสานทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธี ปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วยลักษณะทั่วไปของป่า 3 อย่างพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า
"ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆการที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้ เป็นสวนหรือจะเป็นสวนมากกว่าป่าไม้แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำลำธารนั้นป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้องเพราะทำหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้..." และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า
" การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่างแต่มีประโยชน์ 3 อย่าง คือไม้ใช้สอยไม้กินได้ไม้เศรษฐกิจโดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ..." พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ดำเนินการ ในหลายส่วนราชการทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่งคือการป่าไม้ใช้สอยโดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใชในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์และสะเดา เป็นต้น
6.วิธีการปลูกป่าเพื่อทดแทนหมุนเวียน
นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเดิมเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อใช้ทำฟืนว่า "...การปลูกป่าสำหรับใช้เป็นฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ในการนี้จำเป็นต้องใช้เป็นประจำในการนี้จะต้องคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้ปลูกเปรียบเทียบกับจำนวนของราษฎรตลอดจนการปลูกและตัดต้นไม้ไปใช้จะต้องใช้ระบบหมุนเวียนและมีการปลูกทดแทนอันจะทำให้มีไม้ฟืนสำหรับใช้ตลอดเวลา..."
วิธีการปลูกป่าทดแทน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าวคือ
1.ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม " การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขาหัวโล้นแล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็ว คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาด ความชุ่มชื้นในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีกต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี "
2.การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา " จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆชนิดเพื่อให้ได้ประโยชน์เอนกประสงค์คือมีทั้งไม้ผล ไม้สำหรับก่อสร้างและไม้สำหรับทำฟืนซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้วก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที "
3.การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง " ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืนซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย "
4.ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่างและคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝักเพื่อ ให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา
5.ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ
6.ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
7.ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการดูแลฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
8.ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า
หญ้าแฝก
ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์ และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
•การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
•การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
•การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
•การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
•การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
•การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
ตะกอนดิน
•การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
•การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
•การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
•การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
•ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
•ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้
•หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”
จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมต ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์ ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ทฤษฎี "แกล้งดิน"
ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่
ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ
พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพ
เป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน"
เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไป
กระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืช
ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
2.การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือ
•ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้
•การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
•การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
3. การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือ
•การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ
◦ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ
◦ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้
•การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้
วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
1. เพื่อใช้ปลูกข้าว
•เขตชลประทาน
- ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
- ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่
•เขตเกษตรน้ำฝน
- ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่
- ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
•ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว
หลังจากหว่านปูนให้ทำการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดำ
2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุก
•การปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือ
◦ยกร่อง กว้าง 6-7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม.
◦ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน
◦ทำแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25-30 ซม. กว้าง 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะ
เมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก
◦ใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2-3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วัน
◦ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดิน
•การปลูกพืชไร่บางชนิด กระทำได้ 2 วิธี คือ
◦แบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทำนา
■การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่เช่นเดียว
กับการปลูกพืชผัก
■การปลูกพืชไร่หลังฤดูทำนา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน
การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดอน 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก
3. เพื่อปลูกไม้ผล
•สร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ
•ยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล
•น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3-4 เดือนต่อครั้ง
•ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
•ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่
•กำหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช
•ขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50-100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอก
หรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./หลุม
•ดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก
สารตกตะกอน
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี (Physical - Chemical Process) ด้วยการ ทำให้ตกตะกอน (Presipitation) ตามพระราชดำริ "สารเร่งตกตะกอน PAC" (Poly Aluminum Chloride)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทาน ดำเนินการสนองพระราชดำริด้วยการประดิษฐ์เครื่องบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย ให้มีสภาพดีขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องต้นแบบในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่อไป ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย คณะกรรมการ มูลนิธิชัยพัฒนาไปทอดพระเนตรการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสียโดย ใช้สารเร่งตกตะกอน ณ บริเวณสนามข้างอาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งในวโรกาสนี้ได้พระราชทานชื่อ Model ของเครื่องบำบัด น้ำเสียนี้ว่า "TRX-1" และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการ ศึกษาวิจัย และพัฒนา สรุปได้ว่า
1. ควรดำเนินการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผลิตสาร PAC (Poly Aluminum Chloride) ขึ้นภายในประเทศเพื่อที่จะทำให้ต้นทุนในการบำบัดน้ำลดลง
2. ควรนำน้ำเสียประเภทต่าง ๆ และน้ำเสียจากคลองสามเสน คลองเปรมประชากร และคลองแสนแสบ มาทำการทดลองบำบัดโดยตรวจสอบคุณภาพน้ำทั้งก่อน และหลังบำบัด โดยเฉพาะเรื่องเชื้อโรคและสารตก ตะกอนจำพวกโลหะหนัก เพื่อที่จะนำตะกอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ทำปุ๋ย เป็นต้น
3. คุณภาพน้ำภายหลังบำบัด อาจจะต้องผ่านกระบวนการเติมออกซิเจนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องกลเติม อากาศเข้าไปด้วย โดยต่อท่อดูดอากาศผสมกันตรงบริเวณ ท่อน้ำไหลออกที่ผ่านการบำบัดแล้ว คุณสมบัติ เครื่องบำบัดน้ำเสียโดย ใช้สารเร่งตกตะกอน (PAC) เป็นเครื่องบำบัดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง มีระบบการทำงานที่ไม่ยุ่งยากสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างง่าย มีขนาดกระทัดรัด ทำให้สะดวกในการ เคลื่อนย้ายและติดตั้ง นอกจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การเดินระบบและการบำรุงรักษาอีกด้วย
หลักการบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่อง PAC
1. ให้มลสารที่ผสมอยู่ในน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกิดการตกตะกอน
2. กรณีที่มีมลสารขนาดเล็กเกิดการแขวนลอย และแพร่กระจายผสมอยู่ในน้ำ จนยากแก่การตกตะกอน ให้เติมสารเพื่อช่วยเร่งการตกตะกอนให้เร็วขึ้นโดย "สารช่วยเร่งการตกตะกอน" สารช่วยเร่งการตกตะกอนนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น สารส้ม เฟอร์ริกคลอไรด์ เฟอร์ริกซัลเฟต โซเดียมอลูเมต และปูนขาว ซึ่งวิธีการนี้จำเป็นต้องใช้สารโซดาไฟช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำให้เหมาะสมด้วย แต่สารช่วยเร่งการตกตะกอนที่มีพัฒนาใหม่ล่าสุดนี้ เรียกว่า "โพลีอลูมินัมคลอไรด์" (Poly Aluminum Chloride) เรียกสั้น ๆ ว่า PAC
• ขั้นที่ 1 : น้ำเสียเข้าระบบขั้นต้น (Influent Discharge) โดยวิธีการปั๊มน้ำสูบส่งน้ำดิบให้ไหลผ่านเข้าเส้นท่อ พร้อมทั้ง ใช้ปั๊มเติมสารเร่งตกตะกอน (Dosing Pump) เข้าสู่เส้นท่อเพื่อผสมกับน้ำดิบในปริมาณที่เหมาะสม
• ขั้นที่ 2 : เข้าสู่ระบบกวนเร็ว (Rapid Mixer) เป็นขั้นตอนที่เกิดการผสมคลุกเคล้า กันอย่างรวดเร็วระหว่างน้ำดิบและสารเร่งตกตะกอนภายในท่อกวน เร็วที่ออกแบบ เป็นแผ่นเกลียว เพื่อบังคับน้ำที่มีความเร็วให้ไหลวนและปั่นป่วน (Turbulence) จนเกิดเป็นกระบวนการผสมระหว่างของเหลวทั้งสองชนิดได้อย่างรวดเร็ว และสมบูรณ์
• ขั้นที่ 3 : ผ่านไปยังระบบกวนน้ำ (Slow Mixer) ด้วยการลดความเร็วของน้ำ จากท่อกวนเร็ว เพื่อให้เกิดการรวมตัวของ อนุภาคสารแขวนลอย จนกลายเป็น กลุ่มก้อนขนาด ใหญ่ (Flock) แล้วจึงไหลออกจากถังกวนช้าผ่านแผ่นกั้นลดความเร็ว ของน้ำเป็นระยะต่อเนื่องกัน
• ขั้นที่ 4 : ระบบการตกตะกอน ด้วยการออกแบบรูปทรงถังตกตะกอนแบบทรงกลม (Sedimentation Tank) ซึ่งทำหน้าที่ทำให้กลุ่มก้อนของอนุภาคสารแขวนลอย ที่จับตัวกัน สามารถตกตะกอนลงสู่ก้นถังได้อย่างรวดเร็ว ส่วนน้ำใสที่ผ่านการตกตะกอนแล้วจะไหลล้นกระจายออกสู่ด้านบนตามเส้นรอบวง แล้วผ่านระบบการกรองตะกอนลอย ต่อจากนั้นจึงไหลลงสู่รูเจาะด้านล่างที่บังคับ ให้น้ำไหลเป็นฝอย เพื่อให้น้ำมีพื้นที่สัมผัสกับอากาศได้มากที่สุด อันเป็นการเติมอากาศให้กับน้ำขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำเอา น้ำนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
การบำบัดน้ำเสียด้วย PAC นี้ ได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจยิ่ง ด้วยวิธีการขจัดน้ำขุ่น ได้ดีกว่าสารส้มถึง 3 เท่า และไม่เกิด ความเสียหายใดดังที่เกิดจากสารส้ม กอปรกับตกตะกอนได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายมาก จึงนับเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สามารถ เข้ามามีบทบาทในกระบวนการ Recycle ที่สำคัญยิ่งที่จะนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ ได้อีกในอนาคต
แก้มลิง
ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง
ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหล เข้าสู่บ่อพักน้ำ เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ
โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิง
แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริ
อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
•เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟองChaipattana Aerator, Model RX-1
•เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
•เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
•เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท"Chaipattana Aerator, Model RX-5
•เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
•เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
•เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8 เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
•เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2
เครื่องกลเติมอากาศต่างๆนี้ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณ ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิเต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมลสารต่าง ๆ ให้ลดต่ำลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมากเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัล ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญคือ
•โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
•ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
•ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลาย เข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
•ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลัง เคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัว ของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับ ความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการ ทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มี ความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น
บำบัดน้ำเสียโดยธรรมชาติ
บำบัดน้ำเสียโดยธรรมชาติ
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติแบบบ่อผึ่งหรือบ่อตกตะกอน และระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Oxidation Pond, Sedimental Pond and Lagoon Treatment)ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย
พระราชดำริระบบบ่อบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด (Lagoon Treatment and Grass Filtration)
โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการศึกษาวิจัย วิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ปัญหาภาวะมลพิษมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างมาก สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ชุมชนเมืองต่างๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า
"...ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้และในเมืองไทยเองก็ทำได้...ทำได้แต่ที่ที่ทำนั้นต้องมีที่สัก 5,000 ไร่... ขอให้ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาช่วย ร่วมกันทำ ทำได้แน่..."
จากการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นมาก่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนานมาแล้ว นี่เอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานร่วมกัน ศึกษาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับสำรวจพื้นที่ดำเนินการพบว่าบริเวณ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,135 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ไม่มีปัญหาด้านเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด เมื่อคณะทำงานนำผลการศึกษาในการจัดทำโครงการขึ้นกราบบังคมทูล ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย เห็นด้วยกับรูปแบบและแนวความคิดดังกล่าว สำนักงาน กปร. และกรมชลประทาน จึงร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ ฯ ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย และทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวได้ การสนองพระราชดำริในโครงการนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง เป็นต้น
1. เริ่มด้วยเทศบาลเมืองเพชรบุรี ดำเนินการสร้างท่อระบายรวบ รวมน้ำเสีย (Combine Waste Water System) ส่งน้ำเสียไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่คลองยาง ที่จุดนี้จะทำหน้าที่เป็นบ่อดักขยะ เป็นบ่อตกตะกอนขั้นต้นที่สามารถลดค่าความสกปรกไปได้ถึง 40 %
2. ระบบการบำบัดน้ำเสีย มีการสูบน้ำเสียจากคลองยางส่งไปตามท่อเป็นระยะทางถึง 18 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลแหลมผักเบี้ย ซึ่งดำเนินการพร้อมกัน 2 ระบบ คือ ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะ
ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น
• ก. ระบบบำบัดหลัก ประกอบด้วย ระบบบำบัดน้ำเสีย (Lagoon Treatment) มีจำนวน 5 บ่อ ในพื้นที่ 95 ไร่ น้ำเสียจะไหลเข้าตามระบบน้ำล้น ดังนี้คือ - บ่อตกตะกอน (Sedimentation Pond) - บ่อบำบัด 1- 3 (Oxidation Pond) - บ่อปรับคุณภาพน้ำ (Polishing Pond) น้ำเสียจะไหลเข้าสู่บ่อตกตะกอนแล้วผ่านเข้าไปยังบ่อบำบัดที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ แล้วไหลล้นเข้าสู่บ่อปรับคุณภาพน้ำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะระบายลงสู่ป่าชายเลนซึ่งน้ำเสียขั้นสุดท้ายนี้จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากคณะวิจัยอย่างใกล้ชิด
• ข. ระบบบำบัดรอง อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่ ประมาณ 60 ไร่ ประกอบด้วย - ระบบบึงชีวภาพ (Constructed Wetland) เป็นการดำเนินการโดยให้น้ำเสียผ่านบ่อดินตื้น ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบึงปลูกพืชที่มีรากพุ่งประเภทกกพันธุ์ต่าง ๆ และอ้อ เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้มีระบบรากแผ่กระจายยึดเกาะดิน และสามารถเจริญเติบโตดีในน้ำขังเสียน้ำเสียจะเริ่มจากต้นบึงไหลล้นผ่านพืชต่าง ๆ ไปท้ายบึงอย่างต่อเนื่องโดยพืชทั้งหลายจะช่วยดูดซับสารพิษและอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง ตลอดจนทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้หมดไป - ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า (Grass Filtration) โดยการปล่อยน้ำเป็นระยะ (Bat Flow) ผ่านเข้าไปในแปลงหญ้ามีขนาดและลักษณะเหมือนระบบบึงชีวภาพ ระบบแปลงหญ้านี้จะรับน้ำจากบ่อปรับคุณภาพน้ำของระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเข้าไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะ ๆ นานครั้งละ 1-2 สัปดาห์ กระทั่งน้ำมีความสะอาดดียิ่งขึ้น - ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน (White and RedMangrove) น้ำเสียจะได้รับการบำบัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ 30 ไร่ ที่ทำการปลูกป่าชายเลน ซึ่งปลูกแบบคละผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งน้ำที่ผ่านป่าชายเลนนี้จะได้รับการบำบัดจนเป็นน้ำที่ดีตามมาตรฐานเช่นกัน การนี้นับเป็นแนวพระราชดำริที่เป็นแบบฉบับแก่ชุมชนทั้งหลายทั่วประเทศ ได้ดำเนินการเจริญรอยตามพระยุคลบาทโดยยึดการดำเนินงานที่แหลมผักเบี้ยเป็นต้นแบบ
น้ำดีไล่น้ำเสีย
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (Dilution)
ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ"น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
การใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย หรือที่เรียกกันว่า "น้ำดีไล่น้ำเสีย" นั้น ได้แก่ การใช้น้ำที่มีคุณ ภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป และช่วยให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ทั้งนี้โดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือจากแหล่ง น้ำภายนอกส่งเข้าไปตามคลองต่าง ๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ หรือคลองบางลำภฯลฯ เป็นต้นซึ่งกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำ เจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นเมื่อ การกำหนดวงรอบ เกี่ยวกับการไหลของน้ำไปตามคลองต่าง ๆ นับแต่ปากคลอง ที่น้ำไหลเข้าจนถึงปลายคลองที่น้ำไหลออกได้อย่างเหมาะสม โดยที่น้ำสามารถไหลเวียนไปตามลำคลองได้ตลอด แล้ว ย่อมสามารถเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งโสโครกไปได้มาก ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียในคลอง ต่าง ๆ ตอนช่วงฤดูแล้งได้อย่างดี จากแนวพระราชดำริดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงบังเกิดกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย 2 ประการ ตามแนวพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" คือ
•วิธีที่หนึ่ง ให้เปิดประตูอาคารควบคุมน้ำรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้นและระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำตามลำคลองมีโอกาสไหลถ่ายเทกันไปมามากขึ้นกว่าเดิม เกิดมีการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น
•วิธีที่สอง ให้ขุดลอกคลองเปรมประชากรพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อให้เป็นคลองสายหลักในการผันน้ำคุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสียเจือจางลงและให้ คลองเปรมประชากรตอนล่างเป็นคลองที่สามารถรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปช่วยบรรเทาน้ำเสียโดยส่งกระจายไปตามคลองต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ส่วนคลองเปรมประชากรตอนบนนั้น ให้หาวิธีรับน้ำเข้าคลองเป็นปริมาณมาก อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นจะได้สามารถกระจายน้ำเข้าสู่ ทุ่งบางไทร-บางปะอินเพื่อการเพาะปลูก และเพื่อให้คลองเปรมประชากรตอนบนมีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ผลักดันน้ำเน่าเสียในคลองเปรมประชากรตอนล่างต่อไปได้
แนวพระราชดำริสองประการนี้ แสดงถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวว่าทรงเชี่ยวชาญในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง และเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย ประหยัดพลังงาน และสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลาซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่งในพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทเพื่อความสุขของปวงชนทั้งหลาย
โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 13 ไร่ 3 งาน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 30
พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริไว้ดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้ เคียงด้วย อีกทั้งต่อมา สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่
หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว สำนักงานกปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำให้มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี โดยดำเนินงานในรูปแบทฤษฏีใหม่ ดังนี้
•ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร
•พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา
•พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่
•พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน
•บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา
จากการดำเนินงานการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ผลงานแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
•ข้าว : โดยวิธีหว่าน และปักดำได้ผลผลิตไว้สำหรับการบริโภค และเหลือขายบ้างบางส่วน
•พืชหลังนา : โดยหลังเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว ได้ทำการปลูกข้าวโพดหวานพิเศษ และพืชจำพวกถั่ว เพื่อไว้บริโภคและเหลือขาย รวมทั้ง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วย
•พืชสวนครัว : ได้มีการปลูกข่า ตะไคร้ กระเพา พริก ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญงอกงามมีผลผลิตดี สามารถเก็บขายได้เงินเป็นรายได้
•ไม้ดอก : ได้มีการปลูกมะลิ เยอบีร่า บานไม่รู้โรย ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระ ได้ผลผลิตที่สามารถเก็บขายได้ราคา
•ไม้ผล : ได้มีการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ กระท้อน ขนุน มะม่วง ละมุดน้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม้ผลบางประเภท เช่น ฝรั่ง ละมุด มะละกอสามารถให้ผลผลิตเก็บขายเป็นรายได้ดี
•การเลี้ยงหมู : ได้เลี้ยงหมูเหมยซานเพศเมีย 2 ตัว โดยสร้างคอกบนขอบสระเก็บน้ำ สามารถตกลูกปีละ 2 คอก ๆ ละ 10-12 ตัว
•การเลี้ยงปลา : ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานวลจันทร์เทศ ลงในสระเก็บน้ำจำนวน 25,000 ตัว จะสามารถจับเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ได้เงิน4,150 บาท
ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ
ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้เป็นของตนเอง และต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรและมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และ เลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์และในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระที่เก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนขุดสระ เก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีงานทำตลอดปี และราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)